เรียนแบบสมาร์ท ในชั้นเรียนทันสมัย
ทุกวันนี้ การทำให้นักเรียนใส่ใจและพึงพอใจกับการเรียนเป็นโจทย์สำคัญ แม้แต่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ยังพยายามหาทางออกสำหรับเรื่องนี้กัน และทั้งๆ ที่ประเด็นนี้มีความสำคัญมาก แต่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังคงมองหาวิธีที่ลงตัวเพื่อจัดการกับมัน
จากงานวิจัยของ Noel-Levitz จุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดคงเป็นการเพิ่มความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ตั้งแต่การสร้างบรรยากาศที่ดีภายในมหาวิทยาลัย เสริมประสบการณ์การเรียนรู้ในห้องเรียน ให้คำปรึกษานักเรียนโดยอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ และอื่นๆ งานวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักเรียนเหล่านี้ มีส่วนรักษานักเรียนไว้ในสถานศึกษาถึง 20%
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งมุ่งศึกษาองค์ประกอบของห้องเรียนที่ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของนักเรียน ซึ่งเผยว่า “การใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนทำให้ความพึงพอใจของนักเรียนสูงขึ้น” แน่นอนว่า เทคโนโลยีสามารถสร้างประสบการณ์การเรียนที่น่าสนใจและเพิ่มความพึงพอใจของผู้เรียนได้ จึงคุ้มค่าอย่างมากในการลงทุน
แล้วเทคโนโลยีในห้องเรียนมีส่วนช่วยในการพัฒนาประสบการณ์ของนักเรียนได้อย่างไรบ้าง??
การประชุมร่วมกันผ่านวิดีโอ
หากต้องการสร้างการเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้งในรั้วมหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ต และทั่วโลก ก็ควรเพิ่มการเรียนการสอนในระบบประชุมผ่านวิดีโอ เพื่อเปิดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบไร้พรมแดน ที่ไม่ใช่แค่ฟังการบรรยายบนหน้าจอเท่านั้น
และแม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีทรัพยากรมากนัก ผู้สอนก็ยังสามารถใช้ระบบการประชุมผ่านวิดีโอ ให้นักเรียนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ต่างๆ ที่นักเรียนสนใจได้ ไม่ว่าผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะอยู่ห่างไกลหรืออยู่ต่างประเทศก็ตาม เพราะการใช้องค์ประกอบที่เป็นภาพแบบนี้จะช่วยให้มุมมองของนักเรียนกว้างขึ้นอย่างแน่นอน
จากทั้งสองกรณี คงเห็นแล้วว่าเทคโนโลยีการประชุมแบบวิดีโอมีข้อดีมากมาย ทั้งทำให้นักเรียนกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจที่จะตั้งคำถาม เรียนรู้ร่วมกัน และอภิปรายกับเพื่อนร่วมชั้นและผู้เชี่ยวชาญได้ แทนที่จะรอให้อาจารย์ป้อนข้อมูลผ่านการบรรยาย นอกจากนี้ ระบบการประชุมผ่านวิดีโอยังรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่นักเรียนใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ซึ่งทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจและจดจ่อกับการเรียนมากขึ้น
ความร่วมมือระหว่างอาจารย์และนักเรียน
นอกจากลดอุปสรรคด้านพื้นที่ไปได้แล้ว เทคโนโลยียังสามารถสร้างรากฐานให้นักเรียนจดจ่อและพึงพอใจกับการเรียน ผ่านการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พูดคุยกับอาจารย์มากขึ้น บางครั้ง การเรียนการสอนผ่านการฉายโปรเจกเตอร์อาจล้าสมัยไปมากแล้ว และนักเรียนอาจเปิดประสบการณ์เรียนรู้ได้ไม่เต็มที่ เพราะขาดการเชื่อมโยงกับเนื้อหาและอาจารย์
มีเทคโนโลยีมากมายที่ช่วยให้นักเรียนเชื่อมโยงกับเนื้อหาได้โดยตรง เช่น การแก้สมการผ่านอุปกรณ์ของตัวเองที่เชื่อมต่อกับจอหน้าห้องเรียน หรือการคอมเมนต์และแก้ไขงานออกแบบแบบ Real Time การเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อด้วยการใช้เทคโนโลยีเช่นนี้ ไม่ได้เป็นแค่การลงทุนที่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีที่ทำให้นักเรียนได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ดีๆ จากการเรียนได้อย่างแท้จริง
ห้องเรียนอัจฉริยะ
มาร่วมผลักดันความร่วมมือระหว่างนักเรียนและอาจารย์ไปอีกขั้น เพื่อบอกลาโครงสร้างการเรียนแบบเดิมๆ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นเทรนด์การศึกษาที่เริ่มแพร่หลายขึ้น เมื่อแทนที่การบรรยายด้วยกิจกรรมกลุ่ม ก็จะทำให้นักเรียนได้ฝึกการแก้ปัญหาและระดมความคิดร่วมกัน พร้อมกับช่วยเพิ่มแรงจูงใจและมอบแนวทางการเรียนรู้ให้กับนักเรียนแต่ละคนได้ ส่วนการโหวตเพื่อตอบคำถามแบบ Real Time โดยใช้ Clicker ก็เป็นวิธีการเรียนรู้แบบเกมที่เพลิดเพลิน สำหรับชั้นเรียนที่ต้องการให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ การมอบหมายงานที่สนับสนุนการแลกเปลี่ยนไอเดียผ่านทำโปรเจกต์ด้วยกันก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงแค่ไอเดียส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีแนวทางในการใช้เทคโนโลยีอีกมากมายที่รอให้คุณนำไปปรับใช้ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ที่มา: RICOH USA
News & Events
Keep up to date
- 31ต.ค.
ริโก้เผยแพร่เอกสาร Ricoh Group Integrated Report 2024 และ Ricoh Group Environmental Report 2024
- 21ต.ค.
ลงทะเบียนฟรี งานสัมมนาออนไลน์จากริโก้ หัวข้อ “Cyber Transformation & Operations”
- 18ต.ค.
ริโก้เข้าร่วมเป็นสมาชิกสามัญในศูนย์ญี่ปุ่นเพื่อการมีส่วนร่วมและแก้ไขปัญหาทางธุรกิจและสิทธิมนุษยชน
- 10ต.ค.
Ricoh ได้รับการจัดให้เป็นผู้นำด้านความปลอดภัยการพิมพ์ประจำปี 2567 โดย Quocirca