ระยะต่อไปของการเข้าถึงคลาวด์อย่างเสรี

13 ธ.ค. 2566
ความพยายามในการทำให้การเข้าถึงคลาวด์เป็นไปได้อย่างเสรีของคุณเป็นอย่างไรบ้างแล้ว

สำหรับประเด็นนี้ เราควรถามคำถามหลักนี้ก่อน ซึ่งก็คือการเริ่มต้นด้วยตอนจบนั่นเอง เพราะสุดท้ายแล้ว บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อตอบคำถามนี้ เพราะอะไรน่ะหรือ

บทความจาก Harvard Business Review ในช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ. 2565 ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน

คุณมาร์โค ลานซิที ผู้เขียนบทความ ศาสตราจารย์เดวิด ซาร์นอฟ จากคณะบริหารของ Harvard Business School และคุณซาตยา นาเดลลา ประธานและซีอีโอของ Microsoft กล่าวว่า “การปฏิรูปสู่ดิจิทัลประสบความสำเร็จแล้ว”

โดยพวกเขาศึกษา “อัตราการใช้งานเทคโนโลยี (Tech Intensity)” เป็นคำที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งหมายถึง “ปริมาณที่พนักงานแต่ละคนนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ให้บรรลุเป้าหมายของบริษัท” โดยผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่า “อัตราการเติบโตรายปีแบบผสม (CAGR) สำหรับผู้นำในควอไทล์อันดับต้นๆ ในแง่ของอัตราการใช้งานเทคโนโลยีจะมากกว่าสองเท่า” ของผู้นำที่อยู่ในควอไทล์อันดับล่างๆ

“ยิ่งอัตราการใช้งานสูง (โดยเฉพาะเมื่อใช้กับการลงทุนในโครงสร้างทางเทคนิคและโครงสร้างองค์กร) ก็จะยิ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของรายได้ให้สูงขึ้น”

การเข้าถึงคลาวด์อย่างเสรีหมายถึงอะไร

การเข้าถึงคลาวด์อย่างเสรี คือ การนำเทคโนโลยีมาให้พนักงานใช้ ซึ่งหมายรวมถึงการนำระบบคลาวด์ต่างๆ มาใช้ร่วมกัน รวมถึงโครงสร้างการให้บริการด้วย เพราะสำหรับพนักงาน ระบบคลาวด์ช่วยเพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือที่เป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านดิจิทัลและรายได้ของบริษัท

ระยะต่อไปของระบบคลาวด์ การเข้าถึงและการมีส่วนร่วมที่เพิ่มขึ้น

ประเด็นที่น่าสนใจจากบทความของ Harvard Business Review เกี่ยวข้องกับแบบจำลองที่นักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลเป็นผู้สร้างและนำมาใช้เพื่อส่งเสริมพนักงาน กลายเป็นการจำกัดความสำเร็จ ซึ่งมันไม่เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน จนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลเริ่มร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ข้อมูลและเทคโนโลยีได้ผสานรวมเข้ากับการดำเนินงานในแต่ละวัน จึงเริ่มตระหนักถึงความสำเร็จจากสิ่งนี้

คุณนิโคล บลอห์ม กรรมการของ Portfolio Architecture ได้เล่าไว้ว่า วิธีการพัฒนาแอปพลิเคชันโดยการตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานเป็นตัวชี้ให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ต่อแอปพลิเคชันและระบบอัตโนมัติของกระบวนการต่างๆ ได้อย่างไร

แต่การนำระบบคลาวด์มาใช้ ก็ไม่ได้จำเป็นต้องมีการพัฒนาแอปพลิเคชันแต่อย่างใด เพราะแอปพลิเคชันคลาวด์หลายตัวมีฟังก์ชัน API ที่รองรับการเชื่อมต่อระหว่างระบบต่างๆ อย่างง่ายดายอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น Intelligent Business Platform (IBP) ที่มีโซลูชันต่างๆ อย่าง Claims Processing, Capture and Conversation Services และบริการส่งเมลแบบ Intelligent Delivery ซึ่งทำหน้าที่ป้อนข้อมูลที่เก็บมาตลอดกระบวนการเข้าสู่ระบบของลูกค้า และยังสามารถดูรายงานได้จากแดชบอร์ด IBP หรือดาวน์โหลดออกมาก็ได้

ท้ายที่สุดแล้ว ระยะต่อไปของระบบคลาวด์จะเป็นตัวตั้งนิยามใหม่ของคำว่าการเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเสรี และการเข้าถึงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีความปลอดภัยโดยมีแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรักษาความปลอดภัยแบบหลายชั้น

ประโยชน์ของการเข้าถึงข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันคลาวด์ที่เพิ่มมากขึ้นคืออะไรบ้าง

หากต้องการทำความเข้าใจประโยชน์ของการเข้าถึงแอปพลิเคชันและระบบคลาวด์ได้อย่างเสรีสำหรับธุรกิจ ให้ลองนึกดูว่าสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือผู้ช่วยเสมือนจริงอย่าง Alexa จาก Amazon จะนำมาใช้งานร่วมกันได้อย่างไร หากคุณต้องการเพิ่มแอป คุณก็ทำได้ หากต้องการเชื่อมแอปเข้ากับแล็ปท็อป คอมพิวเตอร์ หรือเครื่องพิมพ์ ก็ย่อมทำได้อย่างง่ายดายเช่นกัน โดยไม่จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือทางเทคนิคแต่อย่างใด

นั่นแหละ คือ วิธีการในการเข้าถึงแอปพลิเคชันและระบบคลาวด์ได้อย่างเสรี

ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ในทางตรงข้าม พวกเขาก็ยังสำคัญมากเหมือนเคย ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทียังคงมุ่งมั่นวางแผนและวางกลยุทธ์ เพื่อผลักดันธุรกิจให้กลายเป็นแพลตฟอร์มและโครงสร้างเทคโนโลยีที่เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของ Amazon, Apple, Google หรือแอปพลิเคชันที่คุณสนใจ ก็คอยพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อรองรับอุปกรณ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

แต่ความแตกต่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีได้เป็นอิสระจากการรับมือในการช่วยเหลือหรือสนับสนุนแอปพลิเคชันในแต่ละวัน เช่นเดียวกันกับพวกเรา ซึ่งเป็นผู้ใช้งานบนอุปกรณ์ต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาศูนย์ช่วยเหลือลูกค้า หรือคำแนะนำในการตั้งค่าเทคโนโลยีต่างๆ

เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว ลองมาดูประโยชน์เจ็ดข้อของการเข้าถึงระบบคลาวด์อย่างเสรีกันดีกว่า

  1. เพิ่มประสิทธิผลในการทำงานทั่วไป
    ในปัจจุบัน การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ร่วมกันทั้งในและระหว่างแอปพลิเคชัน มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ได้เชี่ยวชาญด้านไอทีก็สามารถสร้างกระบวนการทำงานที่เหมาะสมได้ ด้วยแอปพลิเคชันต่างๆ เช่น kintone และ RICOH Smart Integrations

    ความต้องการทรัพยากรด้านไอทีที่ลดลง ทำให้ผู้ใช้งานปลายทางสามารถสร้างกระบวนการทำงาน การรายงาน และอื่นๆ ได้ตามต้องการ ซึ่งความคล่องตัวนี้ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการทำงานได้
  2. ประสบการณ์เชิงบวกของพนักงาน
    พนักงานที่ได้รับแรงสนับสนุนจะทำงานได้สำเร็จ ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา ร่วมมือกัน และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ความรู้สึกในการทำอะไรบางอย่างได้สำเร็จที่มาจากประสิทธิผลในการทำงาน จะช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่พนักงานสามารถทำอะไรให้สำเร็จได้ และสร้างประสบการณ์การทำงานเชิงบวกให้แก่พนักงาน
  3. พัฒนากระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ในทุกระดับของธุรกิจ
    ก่อนที่จะสร้างอะไร คุณต้องคิดไตร่ตรองเสียก่อน อย่างน้อยที่สุด คุณก็อาจทำผิดพลาดในการสร้างสิ่งใหม่ครั้งแรกเพียงครั้งเดียว

    การช่วยเหลือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับของธุรกิจสามารถสร้างกระบวนการที่พวกเขาต้องการได้ เป็นการกระตุ้นให้พวกเขานึกถึงวิธีที่ดีที่สุดในการทำ และถ้าหากต้องมีสมาชิกในทีมคนอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย การสื่อสารและการทำงานร่วมกันก็จะกลายเป็นส่วนสำคัญของขั้นตอนนี้เช่นกัน

    แต่ละคนเริ่มคิดแล้วว่า สิ่งที่พวกเขาอยากทำจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจอย่างไร และสิ่งที่พวกเขาจินตนาการไว้จะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นอย่างไรเช่นกัน

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม และทำความเข้าใจถึงความสำคัญของบทบาทอันเป็นเอกลักษณ์และวิธีการที่มีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้อย่างไร
  4. การปรับปรุงความปลอดภัยของข้อมูล
    โดยธรรมชาติแล้ว แอปพลิเคชันคลาวด์จะอยู่ที่ศูนย์ข้อมูล ที่ซึ่งเจ้าของควรลงทุนอย่างมากในมาตรการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม ทั้งสำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์และมาตรการที่จำเป็นในการสร้างความปลอดภัยให้กับสมบัติทางกายภาพ ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์ม AWS ของ Amazon จะไม่ประสบความสำเร็จได้ขนาดนี้ หากแฮกเกอร์สามารถเจาะผ่านโปรโตคอลด้านความปลอดภัยและแอปพลิเคชันเข้ามาได้อย่างง่ายดาย

    การลงทุนในแอปพลิเคชันคลาวด์ แทนการติดตั้งในสำนักงาน หรือในเครือข่ายขององค์กร เป็นการใช้ประโยชน์จากโปรโตคอลด้านความปลอดภัยขององค์กร และช่วยลดการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นของบริษัท

    คุณจะหาข้อมูลเกี่ยวกับโปรโตคอลด้านความปลอดภัยที่นำเสนอโดยผู้ให้บริการแอปพลิเคชันคลาวด์ได้จากที่ใด รายละเอียดเกี่ยวกับความปลอดภัยมักจะมีระบุไว้ในข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLAs) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
  5. ความสามารถในการปรับเปลี่ยนตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป
    แอปพลิเคชันคลาวด์มักมีความสามารถในการปรับเปลี่ยนที่ยอดเยี่ยม เช่น หากกำลังจะเข้าสู่ช่วงเวลาที่ยุ่งของปี ก็สามารถเพิ่มโปรไฟล์ในแอปพลิเคชันและจำนวนการเข้าถึงของผู้ใช้ เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น จากนั้น เมื่อช่วงเวลานั้นสิ้นสุดลง ก็สามารถปรับเปลี่ยนสู่ระดับเดิมได้

    ความสามารถในการปรับเปลี่ยนนี้ช่วยให้องค์กรสามารถจัดการทรัพยากรเท่าที่จำเป็นต้องใช้ และทำให้พนักงานได้ใช้เครื่องมือได้ตามต้องการ ในช่วงเวลาที่จำเป็น
  6. ความคล่องตัวของการทำงานและธุรกิจ
    การเข้าถึงระบบคลาวด์ทำให้พนักงานทำงานและร่วมมือกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ในออฟฟิศ ทำงานจากระยะไกล หรือจากที่ไหนก็ตาม ตราบเท่าที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งวิธีการทำงานแบบนี้ทำให้พนักงานทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น

    ในทางเดียวกัน การปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม และความสามารถของพนักงานในการสร้างกระบวนการทำงานที่ต้องการในยามจำเป็น ช่วยขจัดปัญหาการบริหารจัดการและการพัฒนาที่คงที่แบบแยกส่วน มีการปรับตัวตามสถานการณ์ได้มากกว่าเดิม

    สรุปคือ ไม่เพียงแต่พนักงานเท่านั้นที่จะทำงานได้คล่องตัวขึ้น แต่กระบวนการทางธุรกิจเองก็จะคล่องตัวมากขึ้นด้วย ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อพนักงานและองค์กร
  7. สร้างประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมให้ลูกค้า
    กระบวนการทางธุรกิจที่รวดเร็วขึ้นทำให้พนักงานเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยพัฒนาการตอบสนองต่อลูกค้า เมื่อทุกคนเริ่มคิดโดยใช้วิธีการที่มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง และด้วยการคิดเชิงกลยุทธ์ที่เพิ่มขึ้นในทุกระดับขององค์กร ท้ายที่สุดแล้ว กระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดก็จะพัฒนาเพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าจะมีความสุข พึงพอใจ และความต้องการของพวกเขาได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้วยทางใดทางหนึ่ง

    ดังนั้น คุณพร้อมหรือยังสำหรับระยะต่อไปในการเข้าถึงระบบคลาวด์อย่างเสรี

    อ้างอิงจากบทความของ Harvard Business Review อัตราการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มการเติบโต (เป็นสองเท่า)

    การเข้าถึงคลาวด์อย่างเสรีช่วยสนับสนุนผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ และถือเป็นหัวใจสำคัญของแนวคิดอัตราการใช้งานเทคโนโลยี

    และนั่นจึงนำเรากลับมายังจุดเริ่มต้น:

    ความพยายามในการทำให้การเข้าถึงคลาวด์เป็นไปได้อย่างเสรีของคุณเป็นอย่างไรบ้างแล้ว 

ไม่ว่าคุณจะอยู่จุดไหนแล้วในเส้นทางนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการทำงานและบริการดิจิทัลของเรา
สามารถช่วยคุณหาโซลูชันเพื่อรับมือกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่ในองค์กรคุณได้

The next phase of cloud democratization

ที่มา:  RICOH USA  

 


News & Events

Keep up to date