3 สิ่งที่ต้องทำเพื่อป้องกันภัยไซเบอร์
อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นบ่อยจนกลายเป็นเรื่องปกติ รายงานเกี่ยวกับการละเมิดความปลอดภัยขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นจากหน่วยงานด้านสินเชื่อ ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ธนาคาร หรือบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้ประเด็นการลดความเสี่ยงทางไซเบอร์กลายเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้นำด้านไอทีให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ในขณะที่อาชญากรไซเบอร์พยายามหาวิธีการใหม่ๆ ในการขโมยข้อมูล บริษัทต่างๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงทุกวัน การต่อสู้กับอาชญากรรมไซเบอร์จึงเป็นงานที่ใหญ่และซับซ้อน รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างพื้นฐานไอที การปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน และการรู้เท่าทันอาชญากรไซเบอร์อยู่เสมอ ด้วยปัจจัยที่ต้องพิจารณามากมาย ธุรกิจจำนวนมากกำลังประสบปัญหาหรือล้มเหลวในการแก้ปัญหา เนื่องจากประเด็นดังต่อไปนี้
- การจัดการและปกป้องข้อมูลจำนวนมหาศาลที่เข้ามาในแต่ละวัน
- การติดตามเครือข่ายที่ซับซ้อนมากขึ้น
- การยืนยันตัวตนที่ไม่ดีพอ ทั้งจากเครือข่าย ผู้ใช้งาน อุปกรณ์มือถือ และการพรินต์งาน
- ขาดการมองเห็นภาพรวมที่ทำให้รับรถึงู้การโจมตีและแผนกลลวง
- พนักงานที่ไม่ได้รับการฝึกฝน
- การพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เน้นการโจมตีมากขึ้น
แม้จะดูเหมือนว่าสถานการณ์จะย่ำแย่ แต่ก็ยังมีวิธีป้องกันการโจมตีได้
สถิติการละเมิดความปลอดภัย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 ถึง 30 มิถุนายน 2562
จำนวนการละเมิด = 10,502 ครั้ง
จำนวนข้อมูลที่ถูกเปิดเผย = 1,505,381,071 รายการ
การยืนยันตัวตนผู้ใช้งานและการรับส่งข้อมูลทั้งหมด
การยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานและการรับส่งข้อมูลเพื่อจำกัดการเข้าถึงเครือข่าย ใช้การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (MFA) สำหรับแอปพลิเคชัน, เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (VPN) และอุปกรณ์ปลายทาง การเข้ารหัสช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาขัดขวางหรืออ่านข้อมูล นอกจากนี้ยังควรปกป้องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลธุรกิจและข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน
อาชญากรรมไซเบอร์ไม่เคยหยุดพัก และการรักษาความปลอดภัยของคุณก็ไม่ควรหยุดเช่นกัน ต้องมั่นใจว่าคุณมีการจัดการและการเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง และมีความสามารถในการตอบสนองต่อการละเมิดความปลอดภัยและการหยุดชะงักของเครือข่ายได้อย่างทันท่วงที
ให้ข้อมูลสำรองมีการเข้ารหัสหากเป็นไปได้ เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กและอุปกรณ์มือถืออื่นๆ อุปกรณ์สำรองข้อมูลแบบพกพาก็ควรเข้ารหัสด้วยรหัสผ่านที่ซับซ้อนและมีความยาวเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากต้องนำออกนอกสถานที่
ความชัดเจน
การระบุว่าความล้มเหลวเกิดจากจุดไหนขึ้นอยู่กับการเฝ้าระวังและการจัดการ หากขาดสองสิ่งนี้เท่ากับว่าคุณกำลังทำสิ่งที่ดูคลุมเครือ การเก็บบันทึกกิจกรรมที่เกิดขึ้นและการติดตามพิสูจน์หลักฐานช่วยติดตามการเข้าถึงข้อมูลสำคัญ เพื่อให้มั่นใจถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบ วัตถุประสงค์คือการเข้าใจให้ชัดเจนว่าระบบเริ่มขัดข้องเมื่อใด ด้วยการมองเห็นเหตุการณ์และภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ คุณสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและครบถ้วน มองเห็นสถานะของอุปกรณ์ที่สำคัญ รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ โครงสร้างพื้นฐาน และอุปกรณ์ต่อพ่วง และช่วยป้องกันภัยคุกคามก่อนที่ข้อมูลจะถูกละเมิด
จัดตั้งนโยบายความปลอดภัย
นโยบายความปลอดภัยที่รัดกุมจะกำหนดกฎและขั้นตอนสำหรับบุคคลทุกคนที่เข้าถึงและใช้ทรัพย์สินและทรัพยากรไอทีขององค์กร กำหนดข้อบังคับในการจัดการเอกสารข้อมูลที่เป็นความลับและอุปกรณ์ที่เข้าถึงข้อมูลนั้น
ใช้การจัดการรหัสผ่านที่รัดกุม รวมถึงรหัสผ่านที่ซับซ้อนและการรีเซ็ตรหัสผ่านเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการใช้นโยบายการเก็บรักษาเอกสาร ซึ่งประกอบด้วยระยะเวลาที่ต้องเก็บข้อมูล จัดเก็บ หรือทำลาย และมีแผนการกู้คืนจากภัยพิบัติที่คำนึงถึงการหยุดทำงานของเครือข่าย การสำรองข้อมูล และการรักษาความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง
นโยบายความปลอดภัยด้านไอทีควรเป็นแผนที่ปรับเปลี่ยนได้ ควรอัปเดตอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองต่อภัยคุกคามและแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยใหม่ๆ
โลกใหม่ของการรักษาความปลอดภัยข้อมูล
เนื่องจากพนักงานในยุคปัจจุบันได้ก้าวออกไปไกลกว่าขอบเขตเครือข่ายแล้ว ผู้โจมตีทางไซเบอร์ก็ได้พัฒนาตามเช่นกัน นั่นคือเหตุผลที่ภัยคุกคามทางเครือข่ายในปัจจุบันจำเป็นต้องล้ำหน้ากว่าเดิม โดยมีโซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมทุกช่องทาง ทุกอุปกรณ์ ทุกที่ที่พนักงานและข้อมูลของคุณอยู่
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าธุรกิจของคุณพร้อม
องค์กรของคุณมีความปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกำหนดไหม?
ดูวิธีที่บริการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ของเราจะช่วยคุณได้
ที่มา: RICOH USA
News & Events
Keep up to date
- 19ก.ย.
RICOH ประกาศร่วมมือกับ LG Electronics เพื่อยกระดับโซลูชันที่ช่วยพัฒนาประสบการณ์ในการทำงาน
- 06ส.ค.
ริโก้ได้รับให้เป็น 'Gold Provider Partner' ของ Cisco ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- 28มิ.ย.
ริโก้ติดอันดับบริษัทที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลกประจำปี พ.ศ. 2567 ของ นิตยสารไทม์ (TIME)
- 26มิ.ย.
ริโก้ได้ดำเนินการตามกรอบในการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ (TNFD : Taskforce onNature-related Financial Disclosures) และขึ้นทะเบียนเป็น TNFD Adopter