เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) ที่พบเจอได้ทั่วไปตามซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านค้านั้น จริงๆแล้วเครื่องอ่านบาร์โค้ดมีหลากหลายรุ่นที่ใช้ในหลายธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งการเลือกใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ดให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้น อาจจะต้องมีความรู้เบื้องต้นดังนี้
1. บาร์โค้ดแบบ 1D หรือ 2D
บาร์โค้ด 1D เป็นการเรียงตัวกันของ"บาร์" หรือ "แท่ง" เป็นเส้นขนานหลายๆ เส้นที่มีความหนา ช่องไฟเรียงกันอย่างมีกฎเกณฑ์และมีความหมาย ซึ่งรูปแบบนี้เราจะเรียกว่าเชิงเส้น หรือ 1D โดยอ่านข้อมูลผ่านแนวยาวมีระยะห่างและความหนาของแท่ง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบจากบาร์แท่งให้อยู่ในรูปแบบของจุด สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยมและรูปแบบเรขาทางคณิตอื่นๆ ที่เป็นรูปร่างมากยิ่งขึ้น หรือจะเรียกได้ว่า บาร์โค้ด 2D มีให้พบเห็นกันหลายแบบและใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ที่เราพบเห็นกันบ่อยในปัจจุบันนี้ คือ รหัสคิวอาร์ (QR Code) มีความสามารถคือสแกนข้อมูลและบันทึกภาพไว้เหมือนกดถ่ายภาพกล้องดิจิตอล เพื่อนำมาประมวลผลเพิ่มด้านแกนความสูง ทำให้รับข้อมูลได้ละเอียดมากกว่าบาร์โค้ด

2. ประเภทของเครื่องอ่านบาร์โค้ดและการใช้งาน
- เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมือจับ (Handheld) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่เราพบเห็นได้บ่อยในปัจจุบัน ต้องใช้มือจับและควบคุมตลอดการใช้งานเพื่อสแกนบาร์โค้ดบนวัตถุ ตัวเครื่องดังกล่าวจะสะดวกต่อการหยิบจับตัวเครื่องไปหาสินค้าที่มีขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น และบางเครื่องอาจจะมีขาตั้งสำหรับตัวเครื่องอ่านบาร์โค้ด ซึ่งทำให้สแกนได้อัตโนมัติเช่นกัน
- เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบตั้งโต๊ะ(Desktop) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบมาสำหรับการตั้งโต๊ะโดยเฉพาะ สามารถเคลื่อนย้าย และวางเครื่องได้ตามความเหมาะสม มีความไวในการอ่าน จะทำงานทันทีเมื่อบาร์โค้ดผ่านตำแหน่งที่เครื่องสามารถจับภาพได้ เหมาะสำหรับร้านค้าที่ต้องการใช้มือหยิบจับสินค้าตลอดเวลา ส่วนมากจะใช้งานตามห้างสรรพสินค้าและโรงแรม
- เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบติดตั้ง (Fix Mount) เป็นเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่ออกแบบสำหรับการติดตั้งโดยเฉพาะ ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัตถุที่มีบาร์โค้ดจะต้องเคลื่อนที่มาอยู่ในระยะที่กรอบแสงกำหนด เครื่องจะทำการสแกนและประมวลผลโดยอัตโนมัติ พบเห็นได้บ่อยตามโต๊ะแคชเชียร์ที่ห้างสรรพสินค้า ที่พนักงานขายจะนำสินค้าด้านที่มีบาร์โค้ดมาจ่อที่เครื่องอ่านที่ถูกฝังไว้กับโต๊ะเพื่อเริ่มต้นการขาย
3. รูปแบบการเชื่อมต่อ
เครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบมีสาย คือ เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยการรับส่งข้อมูลระหว่างตัวอ่านกับเครื่องแม่ที่ใช้เก็บข้อมูลผ่านสายสัญญาน ซึ่งจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะการใช้งาน อย่างเช่น ความยาวสายเครื่องอ่านบาร์โค้ด แบบไร้สาย คือเครื่องอ่านบาร์โค้ดที่อาศัยสัญญาณคลื่น ในการรับส่งข้อมูลไปที่ตัวเครื่องแม่ที่เก็บข้อมูล เช่น Bluetooth ความแม่นยำจะขึ้นอยู่กับระยะสัญญาณด้วยส่วนนึง รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาณรบกวน สิ่งกีดขวาง รวมไปถึงความเหมาะสมของตำแหน่งการวางของตัวเครื่องเช่นกัน

4. ประเภทของหัวอ่านบาร์โค้ดในลักษณะเฉพาะ
- SR (Standard Resolution) หัวอ่านบาร์โค้ดทั่วไป
- FZ (Fuzzy Logic) หัวอ่านบาร์โค้ดที่มีลักษณะซีดจาง หรือมีความเข้มลดลงจากต้นฉบับเดิม
- ER (Extra Long Range) หัวอ่านบาร์โค้ดในระยะไกล หรือบาร์โค้ดขนาดใหญ่ เหมาะกับพื้นที่ปิดโรงงานอุตสาหกรรม
- OCR (Optical Character Recognition) หัวบาร์โค้ด และสำหรับตัวอักษร ที่มีชนิด Fonts เฉพาะเทคโนโลยี OCR รองรับเท่านั้น เหมาะกับลักษณะงานที่ต้องการอ่านค่าของบาร์โค้ดที่ต้องการตัวอักษรเข้ามาประมวลผลด้วย เพื่อความรวดเร็วและความถูกต้อง
- HD (High Density) หัวอ่านบาร์โค้ดที่มีขนาดเล็กเกินกว่า 4 มิล (mil)
- DP / DPM (Direct Part Marks) หัวอ่านบาร์โค้ดที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสกัดฝังลงบนพื้นผิววัสดุ ส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุที่ต้องใช้ในงานเฉพาะที่มีพื้นผิวไม่สามารถติดสติ๊กเกอร์บาร์โค้ดได้ หรือต้องการความคงทนของบาร์โค้ดที่อาจจะเกิดจากการขีดข่วน ล้างด้วยสารเคมี เป็นต้น
เครื่องอ่านบาร์โค้ดตามประเภทการใช้งาน
1. อุตสาหกรรมการผลิต
เครื่องอ่านบาร์โค้ดที่แนะนำ: เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Handheld Computer) สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ การใช้งานหนักๆ ทนน้ำ ทนจากการตกจากที่สูงและรองรับแรงกระแทกต่างๆ
- การจัดเก็บวัตถุดิบรวมถึงการบริหารจัดการความคืบหน้าในกระบวนการและการตรวจสอบย้อนหลัง ไปจนถึงการส่งสินค้าสำเร็จ
- การเก็บชิ้นงานและวัสดุจะเป็นการรับสินค้าเข้ามาเพื่อจัดการข้อมูลบันทึกลงในฐานข้อมูลโดยติดฉลากบาร์โค้ดแล้วสแกนฉลากบาร์โค้ดซึ่งการจัดเก็บสินค้าแบบนี้จะช่วยลดการทำงานที่ใช้ในการตรวจสอบคลังสินค้าได้เป็นอย่างดี
- การบริหารจัดการความคืบหน้าในกระบวนการ การควบคุมงานที่อยู่ระหว่างดำเนินการภายในคลังสินค้ารวมถึงการติดตามผลการทำงาน(การตรวจสอบย้อนกลับ) กาบริหารจัดการชั่วโมงการทำงาน เป็นการติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานแบบเรียลไทม์และส่งข้อมูลไปบันทึกในฐานข้อมูลและรวบรวมข้อมูลในกระบวนการทำงานได้อย่างถูกต้อง และการตรวจสอบย้อนกลับ
2. โลจิสติกส์ ขนส่งสินค้าและคลังสินค้า
- จุดรับสินค้าหรือจุด drop off แนะนำเป็นเครื่องอ่านโค้ดแบบ 1D/2D รูปแบบมือจับ ใช้งานแบบมีสาย
- จุดเช็ดสินค้าออกจากคลัง ตรวจสอบสินค้า และจุดส่งสินค้า แนะนำเป็นเครื่องอ่านโค้ดแบบ 1D/2D รูปแบบเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อตรวจสอบสินค้าในขั้นตอนการจัดส่งสินค้า ในปัจจุบันนวัตกรรมได้พัฒนาขึ้นเป็นระบบ RFID ที่สามารถตรวจจับได้เลยและตรวจเช็ดสถานะแบบออนไลน์ได้เลย
3. ซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ร้านค้า
- จุดตรวจเช็ดสินค้า แนะนำเป็นเครื่องอ่านโค้ดแบบ 1D/2D รูปแบบเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา อาจใช้งานคู่กับเครื่องพิมพ์ฉลากพกพา ในกรณีต้องการพิมพ์บาร์โค้ดใหม่ ตัวอย่าง ตรวจสอบราคาสินค้า
- จุดชำระเงิน POS แนะนำเป็นเครื่องอ่านโค้ดแบบ 1D/2D รูปแบบมือจับ หรือแบบตั้งโต๊ะ ใช้งานแบบมีสาย
สรุปวิธีการเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ด (เครื่องแสกนบาร์โค้ด)
- เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ดตามสภาพแวดล้อมหรือสถานที่ในการใช้งาน
- เลือกหัวอ่านของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่เราต้องการอ่าน 1D or 2D
- เลือกหัวอ่านเฉพาะให้เหมาะสมกับบาร์โค้ดที่ต้องการใช้งาน
- เลือกการเชื่อมต่อให้เหมาะสมการใช้งาน อันดับแรก เลือกแบบมีสาย หรือ ไร้สาย โดยดูจากลักษณะการทำงานจริง ว่าแบบไหนเหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด อันดับสอง เลือกการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Host หรือ Software ที่ใช้งานอยู่อย่างเหมาะสม เช่น คอมพิวเตอร์รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนบ้างหรือ Software รองรับการเชื่อมต่อแบบไหนได้บ้าง
- เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด ที่เหมาะกับวิธีการใช้งานของเรา เช่น แบบมือจับ ตั้งโต๊ะ หรือ Fix-mount
- เลือกเครื่องอ่านบาร์โค้ด โดยดูที่ราคา ยี่ห้อ ที่เหมาะสมกับองค์กร หรือ งบประมาณที่มีอยู่
ที่สำคัญคือ การเลือกซื้อเครื่องอ่านบาร์โค้ดจากผู้ขายที่ความรู้ ประสบการณ์ และมีความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเรื่องการใช้งานและบริการหลังการขาย