ไมโครซอฟท์ ชี้องค์กรต้องสร้าง “Resiliency” ในการดำเนินธุรกิจด้วยเทคโนโลยี

การแพร่ระบาดของโควิด -19 กำลังส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อธุรกิจทั่วประเทศ ยิ่งในช่วงของการระบาดรอบใหม่ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงอีกครั้ง หลังจากที่มีแนวโน้วจะดีขึ้น

สิ่งที่ยังทำให้ธุรกิจดำเนินต่อได้คือการทำ Business Continuity Plan เพื่อรับมือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องทำให้พนักงานสามารถทำงานจากที่ใด ๆ แล้วรู้สึกไม่แตกต่างจากการทำงานที่ออฟฟิศ

ปัจจุบัน Ricoh ได้จับมือกับ Microsoft เพื่อร่วมกันพัฒนาและจัดหาโซลูชันให้แก่องค์กรธุรกิจ โดยจะนำเสนอโซลูชันที่รวมบริการต่าง ๆ ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น Microsoft 365 , Microsoft Teams , Microsoft Azure และอื่น ๆ พร้อมด้วยโปรแกรมช่วยเหลือของ Ricoh ที่จะสนับสนุนการปรับใช้ในด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยธุรกิจสามารถสร้าง Business Continuity Plan ให้ประสบผลสำเร็จหรือแม้แต่ปรับโครงสร้างเพื่อทำ digital transformation

เราได้คุยกับคุณวสุพล ธารกกาญจน์ ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์คลาวด์ Microsoft Azure และคุณวันทิพา วงศ์สมุทร ผู้อำนวยการกลุ่มผลิตภัณฑ์ Microsoft 365 ซึ่งทั้งสองท่านได้ให้แง่มุมที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการสร้างความต่อเนื่องทางธุรกิจ โดยใช้โซลูชั่นจาก Microsoft ทั้ง Microsoft Teams , Azure และ Office 365

โดยคุณวันทิพาเล่าว่า ในช่วง Work From home การทำงานมันไม่ได้มีแค่การประชุมเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีการบันทึกงาน การแชร์ไฟล์ การแชท หรือการอนุมัติเอกสารสำคัญโดยที่มีความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งการทำงานเหล่านี้จะมีประสิทธิภาพหากอยู่ภายใต้โซลูชันเดียวที่สามารถใช้งานได้เบ็ดเสร็จอย่าง Microsoft Teams

ใน Microsoft Teams นั้นเราสามารถใช้งานสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการแชร์ไฟล์ด้วย Sharepoint เซฟงานบนคลาวด์ด้วย OneDrive มีฟีเจอร์ให้ทีมแก้ไขสไลด์ได้ในทันทีระหว่างใช้งาน Mi ช่วยให้เกิดการระดมความคิด หรือการเซ็นอนุมัติเอกสารสำคัญด้วย Adobe sign ที่จะทำ E-signature สำหรับเซ็นเอกสารสำคัญผ่าน Teams ได้ในทันที

นอกจากนี้ Teams ยังมีฟีเจอร์ AI ที่สร้างบรรยากาศในการประชุม เช่น Together mode ที่สามารถปรับพื้นหลังให้ทุกคนเสมือนเราอยู่ในห้องประชุมพร้อมกัน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความผ่อนคลายให้กับผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มาจากแนวคิด Well - being ที่ทำให้พนักงานที่ทำงานที่บ้าน มีความรู้สึกเหมือนกับกำลังทำงานอยูที่ออฟฟิศ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ทีมส์ฟีเจอร์ที่คนไทยชอบในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ในส่วนของ Microsoft Azure นั้น คุณวสุพลได้ให้ข้อมูลว่า Microsoft ได้แบ่ง 3 คอนเซ็ปท์ที่จะช่วยให้การทำงานที่บ้านเป็นไปอย่างราบรื่นดังนี้ 1 ทำให้พนักงานสามารถดำเนินการเรื่องเอกสารประสานงานและทำงานร่วมกันได้จนสำเร็จเสมือนนั่งอยู่ในออฟฟิศด้วยกัน 2.เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของพนักงานในส่วนของ Back office ให้ทำงานที่บ้านได้อย่างปลอดภัยและยังสามารถเข้าถึงระบบสำคัญขององค์กรได้เหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายบัญชี สามารถใช้ Windows Virtual Desktop ลิ้งก์หน้าจอจากที่บ้านเข้าสู่ที่ทำงานได้เหมือนอยู่ที่ออฟฟิศ ทำให้ไม่ต้องกังวลว่าข้อมูลจะรั่วไหลออกไปไหน อย่างถูกต้อง 3.ดูแลเรื่องความปลอดภัย โดยมี Solution Secure Remote Work ที่เป็น Cloud Security เพื่อให้องค์กรสามารถ Monitor การยืนยันตัวตนให้กับพนักงานที่ล็อกอินเข้าระบบ ที่มาพร้อมฟีเจอร์ในการสอบตรวจอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ามาว่ามีความปลอดภัยในระดับไหน หรือระบบคัดกรองฟิชชิ่ง (Phishing) ซึ่งคอนเซ็ปต์ทั้งหมดนี้จะช่วยองค์กรดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง

ส่วนจุดเด่นของ Microsoft Cloud นั่นคือ Trusted Cloud ซึ่งรวมถึง Microsoft 365 หรือ Microsoft Azure โดยเริ่มตั้งแต่สัญญาที่ระบุชัดเจนว่าจะไม่เอาข้อมูลลูกค้าไปทำธุรกิจต่อ ไม่เอาข้อมูลไป Train AI ถ้าไม่ได้รับความยินยอม เพื่อรองรับการทำงานยุคใหม่ให้เข้ากับ PDPA หรือกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังจะมาถึงในเดือน มิถุนายน ที่จะถึงนี้ และยังเป็น tech company ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการปกป้องภัยไซเบอร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานใหญ่มากในไมโครซอฟท์เพื่อให้สามารถช่วยลูกค้าดูแลในเรื่องความปลอดภัยบนโลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์และรอบด้าน

ในส่วนของประสิทธิภาพทางเทคโนโลยีของ Microsoft Azure เป็นคลาวด์ที่มั่นใจได้ด้วยการรับรองมาตรฐานมากมายจากทั่วโลก ซึ่งมากถึง 93 Certifications ในทุกหมวดของ Data center

ค่าบริการในการใช้โซลูชัน Microsoft

ในส่วนของ Microsoft 365 จะเป็นการใช้แบบ Software As A Service ซึ่งจะเป็นบริการที่ใช้คู่กับ Endpoint เป็นหลัก ถ้าลูกค้าต้องทำงานจากบ้าน ก็สามารถใช้งาน Cloud ได้ทันที ซึ่งมีตั้งแต่ระบบอีเมล อย่าง Outlook เครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันอย่าง Microsoft Teams และมีพื้นที่บน Cloud ให้ถึง 1 TB และพื้นที่จัดเก็บระดับองค์กรอย่าง SharePoint พร้อมทั้งมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่จะทำให้ธุรกิจสามารถทำ Digital Transformation ได้เพื่อตอบโจทย์โลกยุคปัจจุบันอย่างทันท่วงที

และในส่วนของ Microsoft Azure เป็นบริการในรูปแบบ Pay Per Use ตามการใช้งานจริง โดยลูกค้าสามารถเลือก Package ตั้งแต่ราคาสูงสุด ปานกลาง หรือย่อมเยาว์ตามความเหมาะสมขององค์กร หรือเลือกตามความต้องการใช้งาน สามารถเพิ่มหรือลดสเกลได้ตามความต้องการ เช่นเดียวกับค่าน้ำค่าไฟ

Success Story โซลูชันของ Microsoft

มีร้านค้าที่ต้องเปิดจุดขายสินค้าชั่วคราวที่ต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้รอดจากวิกฤติ Covid - 19 โดยสามารถนำ Virtual Desktop ไปใช้เพื่อทำเป็น POS หรือ Point of sale ได้ตามสถานการณ์ต่าง ๆ

หรือจะสร้าง Business Continuity Plan (BCP) ซึ่งสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาทต่อเครื่องตามสเปค และยังสามารถลดหรือเพิ่มสเกลได้ ซึ่งเป็นวิธีการประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และจะช่วยให้องค์กรอยู่รอดได้ในช่วงที่ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานเป็นอย่างมาก นอกจากจะเพิ่ม competitive advantage แล้ว ยังสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจเพื่อก้าวต่อจากนี้ไปอย่างยั่งยืน