การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยนำวิธีการที่อ้างอิงจากความต้องการมาใช้ในการปฏิบัติการและไอที

02 ก.พ. 2567

วิธีการที่ “อ้างอิงจากความต้องการ” เป็นการเปิดให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาแอปพลิเคชันและการทำกระบวนการให้เป็นอัตโนมัติ

ยุคสมัยที่ฝ่ายไอทีเป็นผู้ควบคุมดูแลการตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีแต่เพียงผู้เดียวในองค์กรนั้นได้ผ่านไปแล้ว

บางครั้ง เราแค่ต้องการทำงานให้เสร็จ และโชคดีที่ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่ไม่ซับซ้อน ที่สามารถสร้างโซลูชันสำหรับเทคโนโลยีต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเหลือเชื่อ โดยอ้างอิงจากความต้องการของพนักงาน โดยวิธีการที่ “อ้างอิงจากความต้องการ” เป็นการเปิดให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน

หลายคนอาจพูดถึงบทบาทของ “Citizen Developer” ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ไม่ซับซ้อน อ้างอิงจาก Gartner คำว่า Citizen Developer คือ พนักงานที่ไม่ได้อยู่ในแผนกไอที “ซึ่งเป็นผู้กำหนดขีดความสามารถของแอปพลิเคชันสำหรับการบริโภคด้วยตนเองหรือผู้อื่น” โดยพวกเขาสร้างเครื่องมือเหล่านี้ขึ้นมาเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่า พนักงานในฝ่ายการตลาด หรือการเงินควรจะเป็นผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน เพราะพวกเขาก็มีงานที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่หมายความว่า มุมมองและความรู้ของพวกเขาสามารถบ่งบอกความต้องการที่ฝ่ายไอทีต้องช่วยตอบสนองได้

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านธุรกิจ เราต่างรู้กันดีว่า ความต้องการในธุรกิจต่างๆ ล้วนเปลี่ยนแปลงบ่อยอย่างไม่น่าเชื่อ แล้วมีวิธีการใดบ้างที่พิสูจน์เรื่องความคล่องตัวของธุรกิจได้ดีกว่าการสร้างโซลูชันสำหรับแก้ปัญหาที่พนักงานพบเจออยู่

ถึงแม้ว่าวิธีการที่อ้างอิงจากความต้องการนี้จะไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่ก็อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับบางฝ่ายในองค์กรได้ และด้วยจุดเปลี่ยนนี้เอง ที่จะก่อให้เกิดลำดับความสำคัญในการตัดสินใจ เพราะจากอดีตที่ผ่านมา การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีหลายครั้งมักอ้างอิงจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีภายในบริษัท พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ต่อกันมา

แต่ปัจจุบันนี้ สิ่งสำคัญอื่นๆ เริ่มเข้ามามีบทบาท เช่น

  • ประสบการณ์ของผู้ใช้งานทั่วไป
  • ความต้องการส่วนบุคคลและของทีม
  • เป้าหมายและคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว

งานวิจัยจาก Boston Consulting Group ชี้ให้เห็นว่า โปรเจกต์การปฏิรูปทางดิจิทัลกว่า 70% ล้วนล้มเหลว ซึ่งอาจเป็นเพราะ โปรเจกต์เหล่านั้นไม่ได้นำความต้องการมาเป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจก็เป็นได้

จุดเปลี่ยน

ลำดับความสำคัญเหล่านี้เป็นการส่งเสริมให้พนักงานอื่นๆ นอกเหนือจากฝ่ายไอที เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีในธุรกิจได้ การปฏิรูปทางดิจิทัลซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นโปรเจ็กต์ที่จัดการโดยผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี แต่ตอนนี้กลับนำโดยฝ่ายการเงิน ฝ่ายปฏิบัติการ และอื่นๆ แทน

อ้างอิงจาก EY Survey ที่สำรวจพนักงานระดับผู้บริหารและผู้นำทางธุรกิจระดับอาวุโสกว่า 570 คน บริษัทเกือบครึ่ง (49%) กำลังวางแผนการบริหารจัดการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในระดับผู้บริหารอยู่ แต่มีเพียง 8% เท่านั้นที่มีโมเดลบริหารจัดการเทคโนโลยีเชิงรุกที่ออกแบบมาอย่างรอบคอบแล้ว เห็นได้ชัดว่า กิจกรรมนำร่องต่างๆ เกี่ยวกับการปฏิรูปทางดิจิทัลนั้นเพิ่มขึ้นมากในช่วง 20 เดือนที่ผ่านมา ทั้งในรูปแบบที่เป็นไปตามเส้นทางเดิม และแบบที่นำวิธีการใหม่ๆ ในรูปแบบบริการมาใช้

ขณะที่การทำความเข้าใจผลประโยชน์ระดับสูงของการปฏิรูปทางดิจิทัลนั้นเป็นเรื่องง่าย แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานรายวันมีความรู้เกี่ยวกับวิธีการนำเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้

ถ้าลองมาพิจารณางานวิจัยจาก Boston Consulting Group ที่กล่าวว่า โปรเจกต์การปฏิรูปสู่ดิจิทัลกว่า 70% ล้วนล้มเหลวนั้นเป็นเพราะเหตุใต อาจเป็นเพราะโปรเจกต์เหล่านี้ไม่ได้นำความต้องการของผู้ใช้มาเป็นตัวขับเคลื่อนการตัดสินใจก็เป็นได้

ผู้คนที่ไม่ได้อยู่ในฝ่ายไอที อย่างเช่น Citizen Developer มักมีมุมมองใหม่ๆ โดยพวกเขามักมองที่ความต้องการ แล้วจึงหาโซลูชันให้ความต้องการนั้น ซึ่งเป็นวิธีที่แทบจะตรงข้ามกับ Purchase Driver ที่ผู้นำในธุรกิจและไอทีใช้อยู่

การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลย อย่างการทำงานร่วมกันและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจ รวมถึงการนำความรู้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคที่มีอยู่แล้วมาปรับใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดเวลาทำงานสำหรับฝ่ายไอที

การใช้แอปพลิเคชันแบบ Low code / No code

หลายครั้ง แอปพลิเคชันแบบ Low code และ No code มักถูกมัดรวมกันมา แต่จริงๆ แล้วต้องใช้ความเชี่ยวชาญคนละระดับกันในการสร้าง

ส่วนมาก การพัฒนาแอปพลิเคชันแบบ Low code มักจะทำโดยผู้ที่มีความรู้ด้านการเขียนโค้ดในระดับ “101” ในขณะที่แบบ No code ใครก็สามารถทำได้ ซึ่งหากไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสองแบบก็ล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อแก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพนั่นเอง

แม้ว่าแพลตฟอร์มแบบ Low code มีใช้กันมาหลายทศวรรษแล้ว แต่ก็ยังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้นำด้านดิจิทัล เพราะมีบทบาทในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลผ่านระบบคลาวด์ และมีการใช้เวลาและทรัพยากรในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่น้อยลง จึงทำให้ธุรกิจต่างๆ มุ่งเน้นไปที่ความต้องการและผลลัพธ์ได้รวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมา

การระบุความต้องการที่เร่งด่วนที่สุด

เมื่อต้องจัดลำดับความสำคัญ ลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเองดู

  • สิ่งที่เป็นคอขวดในกระบวนการทำงานของทีมเราอยู่คืออะไร
  • ประสบการณ์ของผู้ใช้ปลายทางเป็นอย่างไร และประสบการณ์นั้นทำให้ชีวิตของพวกเขาง่ายขึ้นหรือไม่
  • เทคโนโลยีนี้สร้างคุณค่าใดให้กับบริษัทเรา
  • แล้วคุณค่านั้นจะคงอยู่ไปอีกนานแค่ไหน
แล้วจะหาคำตอบได้อย่างไร

ลองตั้งคำถามดูก่อน หากคุณเลือกใช้วิธีการที่อ้างอิงจากความต้องการในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ลองถามผู้ที่จะต้องใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นดู ว่าพวกเขาต้องการอะไร เพราะมันอาจไม่เป็นแบบที่คุณคิดก็ได้

พนักงานหน้างานหรือพนักงานที่ลงมือทำงานจริงมักมีมุมมองที่มีประโยชน์ เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือแนวทางปฏิบัติงานจริงในกระบวนการทำงานปัจจุบัน ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อเป้าหมายระยะยาวขององค์กร ดังนั้น อย่ากลัวที่จะถามความคิดเห็นจากสมาชิกในทีมที่ไม่ใช่ระดับผู้จัดการ ว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับคุณค่าขององค์กร เพราะแท้ที่จริงแล้ว มันมีความสำคัญกับความสำเร็จของคุณมากเช่นกัน

แล้วจะหาทีมพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช่ได้อย่างไร

องค์กรของคุณอาจไม่มี Citizen Developer อยู่เลย หรือฝ่ายไอทีก็อาจมีงานล้นมือจากสิ่งอื่นแล้วก็ได้ ดังนั้น อย่ากลัวที่จะทำงานร่วมกับใครสักคนที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานเด่นชัด เพื่อระบุความต้องการจำเพาะของธุรกิจคุณ

บริษัทช่วยเหลือจากภายนอกสามารถให้ความช่วยเหลือฝ่ายไอทีของคุณในสเกลใหญ่ได้ ซึ่งช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานฝ่ายไอที เพื่อให้พวกเขาได้ไปจัดการกับความรับผิดชอบอื่นๆ ที่มีอยู่มากมายมหาศาลที่ฝ่ายไอทีต้องเผชิญอยู่ทุกวันนี้ เช่น ทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อตอบโจทย์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่มีเพิ่มขึ้น

มุ่งสู่ความสำเร็จด้านดิจิทัล

สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่ต้องจำไว้ คือ การปฏิรูปที่แท้จริงไม่มีวันสิ้นสุด แต่คือเส้นทางต่อเนื่องที่จะต้องมีการประเมินประสบการณ์ของพนักงานและลูกค้าอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาและใช้ประโยชน์จากข้อดีของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

โดยในปีนี้ คุณอาจเริ่มต้นจากการบังคับใช้บางสิ่งบางอย่างที่ไม่ซับซ้อน แล้วในปีถัดไป จึงเริ่มนำ AI และ Machine Learning มาใช้ เพื่อสร้าง Intelligent Assistant Chatbot หรือเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานผ่านแอปพลิเคชัน Augmented หรือ Virtual Reality

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีจะยังคงเป็นเส้นทางต่อเนื่องไม่รู้จบ แต่ก็อย่าลืมตั้งเป้าหมายและกำหนดเหตุการณ์สำคัญที่ต้องบรรลุให้ชัดเจนและทำการสื่อสาร ต้องทำให้ทีมที่มีสมาชิกจากต่างสายงานกัน อย่างทีมเทคโนโลยีและผู้ถือหุ้นในธุรกิจสามารถทำงานได้เต็มกำลังอยู่ตลอด และเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญแต่ละเหตุการณ์ ควรถามความเห็นจากพวกเขาและทำการปรับกลยุทธ์ในอนาคตจากข้อมูลที่ได้รับมา

การทำงานร่วมกับพนักงานระดับผู้จัดการ เพื่อเน้นย้ำเหตุการณ์สำคัญและเป้าหมายในอนาคต จะทำให้ได้รับการสนับสนุนจากทีม ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

ท้ายที่สุดแล้ว ความสำเร็จของการพัฒนาแอปพลิเคชันตามความต้องการสามารถเกิดขึ้นได้ หากมีการลำดับความสำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันและนวัตกรรมที่ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของโครงการริเริ่มนี้

Application Development brings a needs based approach

ที่มา:  RICOH USA  

 


News & Events

Keep up to date