ทำไมธุรกิจขนาดย่อมควรเริ่มจริงจังกับความปลอดภัยของข้อมูล?

04 ม.ค. 2566

ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMBs) หลายรายคิดว่าตัวเองมีสิ่งที่จำเป็นต้องทำมากกว่ามานั่งกังวลกับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และยังคิดอีกว่าพวกเขาจะไม่ตกเป็นเป้าของภัยคุกคามความปลอดภัยของข้อมูล เพราะแฮ็กเกอร์และอาชญากรไซเบอร์ต้องเล็งองค์กร บริษัท หรือสถาบันการเงินใหญ่ๆ เท่านั้น แต่นี่คือความคิดที่ผิดมหันต์ อันที่จริง SMBs กลายเป็นเหยื่อของแฮ็กเกอร์ได้ง่ายมาก โดยเฉพาะ SMBs ที่ไม่ทันระวังตัว 

SMBs ที่ไม่ได้เตรียมรับมือกับการละเมิดความปลอดภัย 

ที่จริงแล้ว ความเชื่อที่ว่าว่า SMBs เป็นแค่ธุรกิจเล็กๆ เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะ SMBs มีผลประกอบการคิดเป็นครึ่งหนึ่งของ GDP ในสหรัฐอเมริกา และเกือบ 60% ของ GDP ในประเทศแถบยุโรปและเอเชีย ดังนั้น ข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลด้านการเงินที่พวกเขาเก็บไว้นั้นทั้งสำคัญและมีค่าไม่น้อยไปกว่าข้อมูลในองค์กรใหญ่ๆ เลย และที่สำคัญคือลูกค้าที่ถูกละเมิดข้อมูลไม่สนใจว่าบริษัทของคุณจะใหญ่แค่ไหน 

นี่คือการผสมผสานกันระหว่างความคิดแง่ดีเกินไปกับข้อจำกัดด้านความปลอดภัยต่างๆ ในทางหนึ่ง SMBs บอกกับตัวเองว่าการละเมิดข้อมูลที่ส่งผลร้ายแรงคงไม่มีวันเกิดขึ้นกับตัวเอง ในอีกทางหนึ่ง พวกเขาก็รับรู้ว่ามีภัยคุกคาม แต่ก็ไม่มีทรัพยากรมากพอที่จะป้องกันข้อมูล 

SMBs เผชิญกับภัยคุกคามทางไซเบอร์เหมือนๆ กับองค์กรขนาดใหญ่ แต่มีงบเพียงน้อยนิดในการรับมือกับมัน ในบริษัทขนาดเล็ก หน้าที่ทางไอทีอาจตกอยู่ในมือของพนักงานที่ไม่ได้มีตำแหน่งเกี่ยวข้องโดยตรง แล้วพนักงานคนนั้นก็ต้องรับหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลอย่างไม่มีทางเลือก แต่ถึงแม้บริษัทจะมีพนักงานด้านไอทีโดยตรง ก็อาจมีแค่คนสองคนที่รับหน้าที่ทุกอย่าง ตั้งแต่แก้ปัญหา Wi-Fi ขัดข้อง ไปจนถึงอัปเดตซอฟต์แวร์ให้พร้อมสำหรับการวางกลยุทธ์ด้านข้อมูลต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลจะปลอดภัย 

ด้วยรายการสิ่งที่ต้องทำยาวเป็นหางว่าว การป้องกันข้อมูลจากการโจรกรรมและอาชญากรรมต่างๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งอีกต่อไป ไหนจะขาดทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนาระบบอีก แม้แต่บริษัทขนาดใหญ่ยังหาสิ่งที่ช่วยดูแลความปลอดภัยของข้อมูลอย่างยากลำบาก คงไม่ต้องพูดถึง SMBs สรุปคือ หาก SMBs ยังประเมินอันตรายของภัยคุกคามต่ำไปหรือขาดแคลนการป้องกันข้อมูลที่ดี บริษัทจะยังคงมีความเสี่ยงและตกเป็นเป้าได้ง่าย 

พาร์ทเนอร์ช่วยคุณจัดการกับความปลอดภัยของข้อมูลได้ 

ขั้นแรกที่ SMBs ทุกรายต้องก้าวไป คือเข้าใจและยอมรับความเสี่ยง เพราะการละเมิดข้อมูลเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ การเตรียมรับมือจึงจำเป็นมาก 

ขั้นต่อไปคือประเมินความสามารถในการปกป้องข้อมูลที่คุณมีอยู่ คุณมีพนักงานและงบประมาณเพียงพอต่อการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลหรือไม่? คุณสามารถติดตามการอัปเดตซอฟต์แวร์และโปรแกรม Antivirus ในระหว่างที่ยุ่งอยู่กับงานอื่นๆ ได้หรือเปล่า? แพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยของคุณจะสามารถตรวจจับมัลแวร์ใหม่ๆ ที่ผุดขึ้นทุกวันได้หรือไม่? 

คุณจำเป็นต้องมีทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับการติดตามดูแลระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเผชิญหน้ากับภัยคุกคามในปัจจุบัน สำหรับธุรกิจที่คิดว่าการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังเป็นภาระที่หนักเกินไป พาร์ทเนอร์ผู้ให้บริการด้านไอทีอาจเป็นผู้ช่วยให้คุณได้ ผู้ให้บริการดูแลรักษาความปลอดภัยข้อมูลองค์กร (MSSP) สามารถติดตามดูแลเครือข่ายและอัปเดตซอฟต์แวร์ที่สำคัญได้ตลอดเวลา ซึ่งเป็นงานด้านไอทีที่มักถูกมองข้าม แม้แต่ในบริษัทขนาดใหญ่ หากมี MSSP ทำหน้าที่ตรงนี้ SMBs ก็ไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญด้านไอที องค์กรภายนอกจะใช้ความเชี่ยวชาญในการค้นหาโซลูชันด้านความปลอดภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของบริษัท ทำให้พนักงานและเจ้าของกิจการโฟกัสกับหน้าที่ที่มีคุณค่าต่อไป 

การลงทุนกับพาร์ทเนอร์ด้านไอทีอาจใช้งบน้อยกว่าจัดการกับทุกอย่างด้วยตัวเองภายในองค์กร และคุ้มค่ากว่าการไม่ทำอะไรเลยและปล่อยให้ข้อมูลเผชิญกับความเสี่ยงต่อไป 

img

ที่มา:  RICOH USA  

 


News & Events

Keep up to date