ริโก้ตอกย้ำความเป็นมืออาชีพด้านนวัตกรรม พัฒนาเครื่องมัลติฟังก์ชันขนาด A3 พร้อมชูจุดเด่นด้านความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัสดุรีไซเคิลมากถึง 50%
ริโก้พัฒนาผลิตภัณฑ์ IM C Series เครื่องมัลติฟังก์ชันสีอัจฉริยะขนาด A3 เพื่อเป็นอุปกรณ์การพิมพ์ที่เหนือชั้น พร้อมมุ่งหน้าสู่พันธกิจเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่การเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัล โดยเครื่องพิมพ์ในซีรีส์ดังกล่าวถูกพัฒนาให้มีเทคโนโลยีที่พร้อมเปลี่ยนการทำงานรูปแบบเดิมๆ ให้เป็นดิจิทัล และทำให้กระบวนการทำงานเป็นระบบมากขึ้น
คุณค่าสำคัญประการหนึ่งที่ผลิตภัณฑ์ IM C Series รุ่นล่าสุดมอบให้แก่ลูกค้าคือ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เราได้พูดคุยกับทีมพัฒนาเครื่องมัลติฟังก์ชันซีรีส์ใหม่ เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติอันโดดเด่น รวมถึงแนวคิดเบื้องหลังในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยทีมพัฒนาของเรา คุณ Yasushi Akiba หัวหน้าทีมพัฒนาพลาสติกรีไซเคิล (Recycled Plastics Development Group), คุณ Yuki Sakai จากทีมจัดซื้อวัสดุ (Materials Purchasing Group), คุณ Takashi Kobayashi จากแผนกวิศวกรรมชิ้นส่วนเครื่องกล (Mechanical Parts Engineering Department), คุณ Masaaki Yoshikawa หัวหน้าทีมจาก OC Business Center, คุณ Shinya Suehiro จากทีมออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging Design), คุณ Yusuke Sato และคุณ Yumi Arai จากทีมการตลาด (Marketing)
สู่การเป็นผู้นำด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม
พันธกิจสำคัญที่องค์กรริโก้ทั่วโลกต่างยึดถือเป็นอันดับต้นๆ คือการมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมคาร์บอนเป็นศูนย์และเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นในสังคม และด้วยเหตุนี้ เราจึงพัฒนาและมอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมการจัดการด้านพลังงานอัจฉริยะ และโซลูชันที่ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายให้กับลูกค้าของเรา ผลิตภัณฑ์เครื่องมัลติฟังก์ชัน IM C Series รุ่นใหม่ล่าสุดพัฒนาโดยยึดพื้นฐานแนวคิดดังกล่าว เพื่อเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน
โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมของริโก้เกิดขึ้นจากฐานรากจิตวิญญาณแห่งรัก 3 ประการ (Spirit of Three Loves) ของคุณ Kiyoshi Ichimura ผู้ก่อตั้งบริษัทริโก้ที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน คุณ Yumi Arai ผู้ดูแลด้านการตลาดเชิงสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เครื่องพิมพ์ในสำนักงานกล่าวว่า “จิตวิญญาณแห่งรัก 3 ประการซึ่งประกอบด้วยความรักในผู้คน รักประเทศ และรักการทำงาน ประกอบกับพันธกิจด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ได้ผลักดันให้เราริเริ่มการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการสร้างความมั่นคงให้กับธุรกิจมาตั้งแต่ช่วงยุค 90 เป็นต้นมา ยกตัวอย่างเช่นในปี พ.ศ. 2537 เราได้ก่อตั้งแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่าง Comet Circle และใน พ.ศ. 2541 เราได้ทุ่มเทในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเต็มตัว”
การใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบในเครื่องมัลติฟังก์ชัน (MFP) คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงภารกิจสำคัญที่ริโก้ทำมาอย่างต่อเนื่อง คุณ Yasushi Akiba ผู้เป็นหัวหอกสำคัญในการริเริ่มพัฒนาพลาสติกรีไซเคิลมาใช้ใน IM C Series รุ่นใหม่กล่าวว่า “ปัจจุบันฉลากรับรองคุณสมบัติด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ เช่น Electronic Product Environmental Assessment Tool ของอเมริกาเหนือและ Blue Angel ของเยอรมนีมีการกำหนดเกณฑ์การใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตเครื่อง MFP ไว้ที่ 5% อย่างไรก็ตาม ใน IM C Series รุ่นใหม่ เราได้ตั้งเป้าในการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบถึง 50% เราจึงตั้งทีมงานเพื่อทำโปรเจกต์นี้กันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563"
รังสรรค์เครื่องมัลติฟังก์ชันสี A3 ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
Carbon Footprint คือตัวชี้วัดสำคัญที่เราคำนึงถึงในการพัฒนา IM C Series รุ่นใหม่ ด้วยความพยายามของเราทำให้เราสามารถผลิต IM C Series ที่ใช้พลาสติกรีไซเคิลถึง 50% ได้สำเร็จ รวมถึงการพัฒนาให้เครื่องประหยัดพลังงานมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
คุณ Arai กล่าวว่า "Carbon Footprint คือตัวชี้วัดว่าผลิตภัณฑ์หนึ่งๆ สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด ซึ่ง Carbon Footprint หมายถึงปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดวงจรของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ การผลิต ไปจนถึงการขนส่ง การใช้งาน การบำรุงรักษา การกำจัด และการรีไซเคิล ซึ่งผลิตภัณฑ์ IM C Series รุ่นใหม่ของเรานั้นลด Carbon Footprint ลงได้ถึง 27% จากรุ่นเดิม”
คุณ Yusuke Sato ซึ่งเป็นอีกท่านจากแผนกการตลาด กล่าวถึงปัจจัยสำคัญ 2 ประการที่ทำให้ IM C Series รุ่นใหม่สามารถลด Carbon Footprint ได้มากขึ้นเอาไว้ว่า “IM C Series รุ่นใหม่ใช้พลังงานน้อยกว่าเครื่องรุ่นเดิมกว่าครึ่ง โดยเราได้พัฒนาผงหมึกให้มีจุดหลอมเหลวต่ำลง 12 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่ทำให้ IM C Series รุ่นใหม่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้นั้น ส่วนใหญ่มาจากการใช้วัสดุรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบและการลดการใช้พลังงานในการใช้งาน และเรายังเพิ่มคุณสมบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกขั้น โดยลดการใช้พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียมในขวดหมึกและวัสดุสิ้นเปลืองอื่นๆ รวมถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์อีกด้วย”
คุณ Shinya Suehiro ผู้ดูแลการออกแบบและพัฒนาวัสดุบรรจุภัณฑ์กล่าวว่า “บรรจุภัณฑ์ของเครื่อง MFP ส่วนใหญ่ใช้พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียมเป็นหลัก แต่สำหรับ IM C Series รุ่นใหม่ เราเน้นการใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษ โดยลดการใช้พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งกว่า 54% นอกจากนี้ เราเปลี่ยนจากการใช้โฟมกันกระแทกมาใช้เยื่อกระดาษซึ่งขึ้นรูปจากกระดาษรีไซเคิลเป็นหลัก ทำให้โดยรวมเราใช้กระดาษเป็นวัสดุหลักในกล่องบรรจุภัณฑ์ถึง 97% ถือเป็นครั้งแรกที่ริโก้ใช้กระดาษเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์หลักสำหรับเครื่อง MFP A3 และการพัฒนาคิดค้นดังกล่าวทำให้เราได้รับรางวัลมากมาย* ทั้งในญี่ปุ่นและระดับนานาชาติ”
* รางวัลบรรจุภัณฑ์อุปกรณ์ขนาดใหญ่จากงาน Japan Packaging Contest 2022 จัดโดย Japan Packaging Institute และรางวัลประเภท Eco-Package (บรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม) ในงาน AsiaStar 2022 Awards for Excellence in Packaging จัดโดย Asian Packaging Federation
ความท้าทายที่องค์กรไม่เคยพบเจอมาก่อน
คุณ Akiba กล่าวถึงความประทับใจแรกต่อเป้าหมายการใช้พลาสติกรีไซเคิล 50% ไว้ว่า "การใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นส่วนประกอบของเครื่อง MFP A3 สูงถึง 50% เป็นเรื่องที่ท้าทายและทะเยอทะยานอย่างมาก ผมพูดได้อย่างเต็มปากว่าเราเป็นเจ้าแรกของโลก* ซึ่งในการพัฒนานั้นเราอาศัยวิธีการที่แตกต่างออกไป"
* ที่มา: งานวิจัยของ RICOH เกี่ยวกับข้อมูลการลงทะเบียนขอรับเครื่องหมายรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจาก Electronic Product Environmental Assessment Tool ในอเมริกาเหนือ วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566
หน่วยงานธุรกิจผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของริโก้
คุณ Akiba ตั้งทีมขึ้นโดยรวบรวมผู้คนจากหลากหลายสายงาน ตั้งแต่สายงานการออกแบบ การพัฒนาพลาสติกรีไซเคิล การจัดซื้อ การขึ้นรูปชิ้นส่วน และอื่นๆ โดยมีผู้จัดการโปรเจกต์คือคุณ Masaaki Yoshikawa ซึ่งเคยควบคุมการออกแบบเครื่องมัลติฟังก์ชันมาแล้ว
คุณ Yoshikawa ให้ความเห็นว่า "ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนี้ คือการกำหนดกฎและหลักเกณฑ์ ควบคู่ไปกับกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพ ต้นทุน และจังหวะเวลาในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เดิมทีเราใช้วัสดุรีไซเคิลแบบสำเร็จรูปในการผลิต แต่ในโปรเจกต์นี้ เราต้องคอยดูแลทั้งในแง่การพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์ควบคู่กันไปโดยไม่ลดทอนคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลง ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังไม่ให้พลาดเด็ดขาด เพราะเครื่องมัลติฟังก์ชันเป็นผลิตภัณฑ์หลักที่สำคัญต่อริโก้ ดังนั้นเราจึงใช้ระบบการควบคุมดูแลทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์และทีมผลิตวัสดุรีไซเคิลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อประคับประคองให้การทำงานของสมาชิกทีมงานนับสิบคนไปในทิศทางเดียวกัน จะเห็นได้ชัดว่าริโก้นั้นทุ่มเทอย่างเต็มกำลัง เพื่อให้โปรเจกต์นี้ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี"
ศูนย์ธุรกิจ OC, หน่วยงานธุรกิจผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของริโก้
สิ่งสำคัญสำหรับโปรเจกต์นี้คือการวางระบบโครงสร้างที่ทำให้เราสามารถรวบรวมวัสดุที่ใช้งานแล้วได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจว่าอัตราการใช้พลาสติกรีไซเคิลจะทำได้ถึง 50% อย่างแน่นอน" ซึ่งคุณ Yuki Sakai จากทีมจัดซื้อวัสดุกล่าวเสริมว่า "ผู้ผลิตพลาสติกเรซินหลายรายยังไม่สามารถตอบโจทย์ระดับการใช้วัสดุรีไซเคิลที่เราวางไว้ได้ในตอนแรก"
เขาอธิบายว่า "เราเริ่มพัฒนาพลาสติกรีไซเคิลร่วมกับผู้ผลิตที่เข้าใจเป้าหมายการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของเราหลายรายด้วยกัน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ใช้วัสดุรีไซเคิลในอัตราที่เราต้องการ เราพบว่าการเริ่มต้นค้นคว้าและพัฒนาใหม่ตั้งแต่ต้นนั้นเป็นเรื่องยาก และแม้ว่าเราจะทำได้ก็ตาม เราก็ยังไม่อาจรับประกันได้ว่าวัสดุที่ได้นั้นมีคุณภาพดีพอที่จะนำไปใช้งาน ด้วยเหตุนี้ เราจึงให้แผนกเทคโนโลยีชิ้นส่วนและแผนกออกแบบช่วยประเมินคุณภาพของวัสดุเรซินรีไซเคิลที่พัฒนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 แผนกก็ได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตพลาสติกรีไซเคิลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้วัสดุที่มีคุณภาพพร้อมใช้งานในที่สุด”
ฝ่ายผลิตและจัดซื้อ, หน่วยงานธุรกิจผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของริโก้
ระดมผู้เชี่ยวชาญจากทุกแผนก เพื่อเป้าหมายการใช้วัสดุรีไซเคิล 50%
คุณ Takashi Kobayashi จากแผนกวิศวกรรมชิ้นส่วนเครื่องกล เป็นผู้ดูแลการพัฒนาชิ้นส่วนของเครื่อง IM C Series รุ่นใหม่นี้ เขากล่าวว่า "การพัฒนาวัสดุและชิ้นส่วนไปพร้อมๆ กันนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่เคยทำมาก่อน เราจึงจำเป็นต้องทำโดยควบคู่ไปกับการวางมาตรฐานแบบใหม่ เพื่อให้เราสามารถนำวัสดุรีไซเคิลที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานโดยยังคงคุณภาพของอะไหล่ไว้ได้เช่นเดิม เราจึงตรวจสอบและทำงานร่วมกับแต่ละแผนกอย่างถี่ถ้วน และตัดสินใจในการพัฒนาส่วนประกอบทั้งหมดอย่างเข้มงวด"
ศูนย์การผลิต OC, หน่วยงานธุรกิจผลิตภัณฑ์ดิจิทัลของริโก้
ปัจจัยอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อคุณภาพของชิ้นส่วนคือความเหลว (fluidity) ของวัสดุที่ขึ้นรูปในแม่พิมพ์ โดยพลาสติกที่มีความเหลวสูงจะทำให้กระบวนการขึ้นรูปง่ายขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้ชิ้นส่วนมีความแข็งแรงน้อยลง นอกจากนี้ การใช้พลาสติกที่มีค่าความเหลวไม่คงที่ก็อาจทำให้ได้ชิ้นส่วนที่ไม่มีคุณภาพเช่นกัน คุณ Kobayashi จึงมองความท้าทายในเรื่องนี้ว่า “เราเริ่มต้นด้วยการทำงานร่วมกับผู้ผลิตวัสดุ เพื่อหาวิธีการควบคุมค่าความเหลวของพลาสติกให้อยู่ในระดับคงที่อย่างเหมาะสม”
ทีมพัฒนาได้ตั้งเป้าอัตราการใช้วัสดุรีไซเคิลในแต่ละชิ้นส่วนอย่างละเอียด คุณ Akiba กล่าวว่า “ตัวเลขปริมาณพลาสติกรีไซเคิล 50% เป็นค่าเฉลี่ยโดยรวม ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนักพลาสติกของฝาครอบภายนอกคิดเป็น 30% ของน้ำหนักโดยรวมของผลิตภัณฑ์ การใช้วัสดุรีไซเคิล 50% สำหรับฝาครอบเพียงอย่างเดียวจึงยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายโดยรวมที่ 50% ได้ ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้วัสดุรีไซเคิลในการผลิตฝาครอบอย่างน้อย 80%” นอกจากนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเฉลี่ยที่ 50% ริโก้ได้เพิ่มจำนวนชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล ไปจนถึงส่วนประกอบภายในตัวเครื่องอีกด้วย
ความยากอีกอย่างหนึ่งในการใช้พลาสติกรีไซเคิลคือ พลาสติกรีไซเคิลนั้นเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย โดยหากมีวัตถุแปลกปลอมปนอยู่ในเม็ดพลาสติกก็จะทำให้ฝาครอบและพื้นผิวมีรอยจุดด่างดำได้ ซึ่งในเรื่องนี้ คุณ Kobayashi กล่าวว่า “เราปรึกษาหารือกันภายในทีมถึงปัญหาดังกล่าว วางมาตรฐานในเรื่องของการปนเปื้อน รวมถึงตรวจสอบวัตถุดิบและกระบวนการในการผลิตอย่างละเอียด เพื่อให้ได้มาซึ่งพลาสติกที่มีคุณภาพน่าพึงพอใจ”
(ขอขอบคุณภาพจาก Mitsubishi Engineering-Plastics Corporation)
การนำกระดาษรีไซเคิลมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์เองก็นับเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเช่นกัน เพราะเครื่อง MFP สี A3 นั้นมีขนาดใหญ่และหนัก จึงทำให้ในการขนส่งอาจเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่าย จุดที่ยากที่สุดจึงเป็นการทำให้กระดาษที่ใช้ในกล่องนั้นแข็งแรงกว่าโฟมกันกระแทก เพียงพอที่จะป้องกันการกระแทกในระหว่างการขนส่งได้
คุณ Suehiro กล่าวว่า "เรานิยมใช้วัสดุกันกระแทกที่เป็นพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ และยังไม่มีใครคิดค้นเทคนิคการใช้วัสดุกันกระแทกจากกระดาษเท่าไรนัก เราจึงใช้เทคโนโลยีในการวิเคราะห์แรงกระแทกแบบไดนามิกในรูปแบบเดียวกันกับการจำลองเหตุการณ์รถชน เราสร้างแบบจำลองผ่านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทดสอบการตอบสนองต่อแรงกระแทกของวัสดุบรรจุภัณฑ์ และเรายังร่วมมือกับฝ่ายวิศวกรรมคุณภาพ (Quality Engineering Department) ในการออกแบบองค์ประกอบและรูปร่างของวัสดุที่สามารถกันกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เราได้บรรจุภัณฑ์จากกระดาษที่สามารถรับแรงกระแทกได้เทียบเท่ากับการใช้พลาสติก”
มุ่งสู่เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2573 และ 2593 ของริโก้กรุ๊ป
หนึ่งในเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมของริโก้ในปี พ.ศ. 2573 คือการลดการใช้ทรัพยากรบริสุทธิ์ในผลิตภัณฑ์ให้เหลือน้อยกว่า 60% ซึ่งผลิตภัณฑ์ IM C Series รุ่นใหม่ล่าสุดมีส่วนช่วยในการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ทีมงานในโปรเจกต์ยังคงมุ่งมั่น เพื่อมองหาวิธีลดการใช้ทรัพยากรบริสุทธิ์ให้ไม่เกิน 12% ภายในปี พ.ศ. 2593
ริโก้ยังคงมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาวัสดุต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรในด้านสิ่งแวดล้อมภายในปี พ.ศ. 2593 โดยคุณ Akiba กล่าวว่า "การพัฒนาวัสดุทางเลือก รวมถึงความพยายามในการจัดหาวัสดุใหม่ๆ และใช้งานชิ้นส่วนที่ทำจากวัสดุรีไซเคิลให้มากขึ้น ล้วนเป็นประเด็นที่เราต้องให้ความสนใจ เช่นเดียวกับการใช้พลาสติกรีไซเคิล เราจะยังคงมุ่งพัฒนาพลาสติกชีวภาพเพื่อทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียมซึ่งเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป พร้อมกับขยายกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลไปด้วยกัน"
แผนกจัดซื้อจัดจ้างเองก็กำลังผลักดันความคิดริเริ่มใหม่ๆ เกี่ยวกับวัสดุรีไซเคิลเช่นกัน โดยคุณ Sakai กล่าวว่า "RICOH IM C6010 เป็นเครื่องมัลติฟังก์ชันรุ่นแรกที่ผลิตขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร ในขณะที่อุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มหันมาใช้พลาสติกรีไซเคิลกันมากขึ้น เราต้องให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการขาดแคลนวัสดุรีไซเคิลและความเสี่ยงในการจัดซื้อวัตถุดิบมากขึ้นตามไปด้วย เราจะพยายามจัดหาวัสดุให้ได้อย่างสม่ำเสมอด้วยมาตรการใหม่ๆ เช่น การรีไซเคิลเชิงเคมี ควบคู่ไปกับการปรับปรุงคุณภาพวัสดุ เป็นต้น"
คุณ Kobayashi ทำงานด้าน Component Technology นับตั้งแต่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของริโก้ ซึ่งโปรเจกต์นี้เป็นโปรเจกต์แรกที่คุณ Kobayashi ช่วยประเมินวัสดุที่ใช้ในการผลิต เขากล่าวว่า "ผมพบว่าประสบการณ์นี้มีค่ามาก และคงจะช่วยผลักดันการทำงานของผมไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ในตอนนี้เราได้กำหนดมาตรฐานอัตราการใช้วัสดุรีไซเคิลที่ 50% แล้ว ผมจึงอยากจะช่วยพัฒนาเทคนิคการประเมินคุณภาพและช่วยลดต้นทุนต่อไป เพื่อให้เราสามารถเพิ่มอัตราใช้วัสดุที่มีการรีไซเคิลให้สูงยิ่งขึ้นกว่าเดิม"
ริโก้ยังวางแผนที่จะใช้บรรจุภัณฑ์กระดาษกับเครื่องพิมพ์ซีรีส์อื่นๆ โดยคุณ Suehiro ผู้รับผิดชอบด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์นับตั้งแต่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของริโก้ เป็นผู้นำในการพัฒนาเครื่อง IM C Series รุ่นใหม่ในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การวางคอนเซปต์ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เขากล่าวว่า "ตัวผมเองนั้นสนใจในเรื่องการนำคุณสมบัติการดูดซับแรงกระแทกของบรรจุภัณฑ์กระดาษมาใช้ในการปกป้องผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนภายในมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพราะผมได้คาดการณ์ไว้ว่าประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมจะทวีความสำคัญมากขึ้นในอนาคต ซึ่งผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่นี้นับว่ามีคุณค่าสำหรับตัวผมเองในฐานะผู้มีส่วนร่วมในการออกแบบเป็นอย่างมาก เพราะผมสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง ผมจะยังคงมุ่งมั่นปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความคุ้มทุนของบรรจุภัณฑ์ลักษณะนี้ต่อไป และทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของริโก้จะถูกส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย"
มุ่งมั่นเดินหน้าสู่โลกอนาคตที่ดีกว่าเดิม
นอกจากนี้ เครื่องมัลติฟังก์ชันซีรีส์ใหม่ของริโก้ช่วยลดความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมในธุรกิจต่างๆ โดยคุณ Arai กล่าวว่า "ลูกค้าให้ความสนใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเครื่องมัลติฟังก์ชันกันมากขึ้น รวมถึงปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าระหว่างการพิมพ์อีกด้วย เราหวังว่าเครื่องรุ่นใหม่นี้จะมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดการปล่อยคาร์บอน และมอบคุณประโยชน์ให้กับลูกค้า ธุรกิจของเรา และสิ่งแวดล้อมต่อไป"
คุณ Yoshikawa หัวหน้าโปรเจกต์กล่าวว่า "เราได้สร้างเครื่องมัลติฟังก์ชันที่ใช้วัสดุรีไซเคิลได้ถึง 50% ได้สำเร็จแล้วก็จริง แต่เราไม่ควรพอใจในความสำเร็จเพียงเท่านี้ เราได้วางรากฐานใหม่ในการใช้วัสดุ การจัดซื้อ และการพัฒนาชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์เอาไว้แล้ว และเราจะยังคงเดินหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปได้ไกลยิ่งกว่าเดิม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เหนือกว่ามาตรฐาน และมุ่งมั่นผลิตเครื่องรุ่นใหม่ๆ โดยใช้วัสดุรีไซเคิลในอัตราที่สูงยิ่งขึ้นในอนาคต"
คุณ Sato กล่าวว่า "สำหรับแผนกการตลาดเอง เราจะไม่หยุดเพียงแค่การทำให้ IM C Series เป็นเครื่องมัลติฟังก์ชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่เราต้องการสร้างบรรยากาศที่ทุกคนในท้องตลาดเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และทำงานเพื่อเน้นย้ำประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมให้เป็นเรื่องของทุกคน"
และนี่คือโปรเจกต์จากบุคลากรมากความสามารถจากริโก้กรุ๊ป ซึ่งรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรม เราได้เอาชนะความท้าทายอันยิ่งใหญ่ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเราจะมุ่งมั่นที่จะมอบสิ่งดีๆ ให้กับโลกต่อไป เพื่ออนาคตในวันข้างหน้าที่ดีกว่าเดิม
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
News & Events
Keep up to date
- 06ส.ค.
ริโก้ได้รับให้เป็น 'Gold Provider Partner' ของ Cisco ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
- 28มิ.ย.
ริโก้ติดอันดับบริษัทที่มีความยั่งยืนมากที่สุดในโลกประจำปี พ.ศ. 2567 ของ นิตยสารไทม์ (TIME)
- 26มิ.ย.
ริโก้ครองใจลูกค้ายาวนาน ด้วยยอดขายเครื่องมัลติฟังก์ชันอันดับ 1 ในไทย 14 ปีซ้อน
- 26มิ.ย.
ริโก้ได้ดำเนินการตามกรอบในการเปิดเผยข้อมูลการเงินที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ (TNFD : Taskforce onNature-related Financial Disclosures) และขึ้นทะเบียนเป็น TNFD Adopter